โรคเหงือกอักเสบเป็นระยะเริ่มต้นของ โรคเหงือก ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพช่องปากและสุขภาพโดยรวมของคุณ ด้วยเหตุนี้ จึงควรทราบถึงสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ รับรู้ถึงอาการต่าง ๆ และเรียนรู้วิธีการรักษาและป้องกัน
โรคเหงือกอักเสบคืออะไร
โรคเหงือกอักเสบเป็นระยะเริ่มต้นของโรคเหงือกที่เกิดจากการก่อตัวของ คราบพลัค ซึ่งเป็นไบโอฟิล์มที่เกิดตามธรรมชาติและเป็นที่อยู่ของแบคทีเรีย ซึ่งสามารถเกาะอยู่บนเนื้อเยื่อรอบฟันของคุณได้ หากคุณรู้สึกปวดเจ็บบริเวณเหงือกหรือมีเหงือกบวม ปัญหานี้มักเกิดจากการสะสมของคราบพลัค หากปล่อยไว้ไม่รักษา โรคเหงือกอักเสบอาจจะพัฒนาเป็นโรคเหงือกชนิดร้ายแรง หรือที่รู้ในชื่อโรคเยื่อปริทันต์อักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการ สูญเสียฟัน ในผู้ใหญ่ โรคเหงือกอักเสบมักจะไม่มีความรู้สึกเจ็บ ดังนั้นหากคุณสังเกตเห็นสัญญาณหรืออาการของเหงือกอักเสบ โปรดไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการรักษา
เพื่อปกป้องสุขภาพช่องปากของคุณ คุณควรจะต้องทราบว่าโรคเหงือกอักเสบคืออะไร เพื่อให้คุณมองเห็นสัญญาณก่อนที่จะเกิดปัญหาสุขภาพฟันที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น หากคู่ของคุณเป็นโรคเหงือกอักเสบ คุณอาจสงสัยว่าโรคเหงือกอักเสบนี้สามารถติดต่อกันได้หรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเห็นพ้องต้องกันว่าถึงแม้ตัวโรคเองจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่คุณก็สามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียผ่านการสัมผัสน้ำลายได้
อาการและสัญญาณของโรคเหงือกอักเสบ
เนื่องจากคุณอาจไม่มองเห็นการ สะสมของคราบพลัคในช่องปาก ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเหงือกอักเสบได้ คุณจึงควรทราบถึงอาการของโรคเหงือกอักเสบและสัญญาณของโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบที่อาจตามมาในภายหลังได้
1. เลือดออกตามไรฟัน
สัญญาณแรก ๆ ของโรคเหงือกอักเสบคืออาการเหงือกอักเสบบวมแดงอย่างเห็นได้ชัดและมีเลือดออกตามไรฟันเมื่อคุณแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
2. เหงือกบวม
หากคุณสังเกตเห็นเหงือกบวมรอบ ๆ ฟัน สาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคือโรคเหงือกอักเสบ เนื่องจากมีคราบพลัคแบคทีเรียสะสมอยู่ในช่องปากของคุณ ซึ่งมักจะติดอยู่ในและรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดปัญหาเหงือกบวมที่มองเห็นได้ชัดและรู้สึกปวด
3. รสชาติแย่ในปากหรือกลิ่นปาก
หากคุณประสบปัญหา กลิ่นปาก ซึ่งยังคงอยู่แม้จะใช้น้ำยาบ้วนปากหรือแปรงฟันแล้วก็ตาม นี่อาจเป็นอีกอาการหนึ่งของโรคเหงือกอักเสบได้ เมื่อคราบพลัคแบคทีเรียเกาะตัวและทำลายผิวฟันของคุณ กระบวนการนี้จะทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
4. เหงือกร่น
เมื่อเริ่มมีอาการของโรคเหงือกมากขึ้น เหงือกจะเคลื่อนออกจากฟันมากขึ้น ซึ่งอาจไม่รู้สึกเจ็บปวด จึงไม่อาจสังเกตเห็นได้ คุณควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างเสมอ หากคุณมองเห็นสัญญาณของเหงือกหลวมที่มองเห็นได้ เพื่อหาวิธีรักษาเหงือกร่น
5. ร่องลึกระหว่างฟันและเหงือก
สัญญาณที่รุนแรงที่สุดของโรคเหงือกคือร่องลึกรอบๆ เหงือกที่เต็มไปด้วยแบคทีเรียที่ร่นลงจนเห็นเนื้อฟัน หากเกิดสัญญาณนี้ขึ้น คุณอาจจะเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งอาจทำให้กระดูกเบ้าฟันที่รองรับฟันของคุณอ่อนแอลง คุณต้องจะไม่เพิกเฉยกับอาการของโรคเหงือกที่ระบุไว้นี้ และหากคุณสังเกตเห็นอาการดังกล่าว ให้ไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อขอรับตรวจสุขภาพฟันอย่างครบถ้วน และแน่ใจว่าสามารถยับยั้งการลุกลามของโรคเหงือกได้
โรคเหงือกและโรคเหงือกอักเสบเกิดจากอะไร
1. สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี
การแปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันต้านเชื้อแบคทีเรีย การใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากต้านเชื้อแบคทีเรียล้วนเป็นวิธีการที่ทันตแพทย์แนะนำเพื่อยับยั้งการสะสมของคราบพลัค แบคทีเรียที่สะสมที่มีลักษณะเหนียวและมีสีเหลืองเรียกว่าคราบพลัค ซึ่งจะสะสมบนฟันของคุณหากคุณไม่แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากคราบพลัคก่อให้เกิดกรดที่ทำลายผิวเคลือบฟันและเหงือกของคุณ สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดีจึงเป็นสาเหตุหลักของโรคเหงือกอักเสบ
2. อายุ
เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย เช่น การผลิตน้ำลายที่น้อยลงจึงเป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบที่มักพบบ่อย และโรคปริทันต์อักเสบก็จะเป็นโรคพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ
3. กรรมพันธุ์
ทันตแพทย์อาจสอบถามประวัติสุขภาพของครอบครัวคุณด้วยเพื่อพยายามค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ ทั้งนี้เนื่องจากพ่อแม่ของคุณที่เป็นโรคเหงือกอักเสบจะเพิ่มโอกาสที่คุณจะเป็นโรคเหงือกได้ เนื่องจากชนิดของแบคทีเรียที่เราได้รับตั้งแต่อายุยังน้อย
4. ฟันเก
เนื่องจากฟันของคุณอาจเหลื่อมซ้อนกันหรือเคลื่อนออกจากแนวฟันที่ควรจะเป็น ฟันเกนี้จึงเป็นแหล่งสะสมคราบพลัคที่ดีรอบเหงือกและฟันของคุณได้ ปัญหานี้มักเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหงือก หากปล่อยไว้ไม่ได้รักษาก็อาจทำให้เกิดอาการฟันผุได้ หากคุณมีฟันเก ให้เลือกหัวแปรงสีฟันที่เหมาะกับช่องปากของคุณ โดยเฉพาะบริเวณที่เข้าถึงยากขณะแปรงฟัน
5. ภาวะทางการแพทย์
หากคุณเป็นโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดเหงือกบวมและมีเลือดออกตามไรฟันอาจเป็นภาวะทางการแพทย์ชนิดทุติยภูมิ เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา นอกจากนี้ การใช้ยารักษาโรคลมชัก โรคหลอดเลือดหัวใจ และความดันโลหิตสูงยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคเหงือกอักเสบได้ ดังนั้นควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบหากคุณได้รับยารักษาดังกล่าว
วิธีป้องกันโรคเหงือกและโรคเหงือกอักเสบ
หากคุณสงสัยว่าจะป้องกันโรคเหงือกอักเสบได้อย่างไร มีขั้นตอนในการป้องกันโรคเหงือกมากมายให้คุณได้เลือก ซึ่งจะช่วยรักษาบางอาการของโรคเหงือกอักเสบได้ คุณควรปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลสุขภาพช่องปากง่าย ๆ เป็นประจำทุกวัน ซึ่งเป็นวิธีป้องกันโรคเหงือกอักเสบที่ดีที่สุด
แปรงฟันด้วยแปรงสีฟันไฟฟ้าและยาสีฟันต้านเชื้อแบคทีเรีย วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 นาที เพื่อขจัดคราบพลัคและลดการก่อตัวของหินปูน และอย่าลืมทำความสะอาดและนวดเหงือกเบาๆ โดยนี่เป็นขั้นตอนเบื้องต้น ในการป้องกันโรคเหงือก
ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้งตามเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อขจัดเศษอาหารและคราบพลัคที่ติดอยู่ระหว่างฟัน
บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้คราบพลัคกลับมาและช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ
การรักษาโรคเหงือกอักเสบ วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบที่ดีที่สุดด้วยตนเองที่บ้านคือการทำความสะอาดช่องปากอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ วันละ 2 ครั้ง ด้วยแปรงสีฟันไฟฟ้าและยาสีฟันต้านเชื้อแบคทีเรีย ในกรณีของโรคเหงือกขั้นรุนแรง ทันตแพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบด้วยการรับประทานยาและการศัลยกรรมช่องปาก
ทำความสะอาดฟันของคุณอย่างล้ำลึก
คุณควรไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไปและทำความสะอาดอย่างล้ำลึก ควบคู่ไปกับการดูแลฟันของคุณเองที่บ้าน วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเหงือกอักเสบได้
การใช้ยา สำหรับอาการรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคเหงือกอักเสบชนิดเนื้อตายเฉียบพลัน ยาปฏิชีวนะ ยาระงับปวด และน้ำยาบ้วนปากรูปแบบอื่นๆ อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาอาการเลือดออกตามไรฟันตามคำสั่งของทันตแพทย์
ศัลยกรรม
สำหรับอาการของโรคเหงือกที่ลุกลามมากขึ้น การรักษาที่ทันตแพทย์แนะนำอาจรวมถึงการศัลยกรรมเหงือกร่วมกับการเกลารากฟัน หรือการขูดหินปูนและขัดฟันเพื่อขจัดคราบพลัคที่สะสมอยู่ หรือหินปูนออกจากบริเวณรอบๆ ฟันและตามร่องเหงือก วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการรักษาโรคเหงือกด้วยวิธีการศัลยกรรมหรือวิธีอื่นๆ คือการรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ดี ควบคุมคราบพลัคบนผิวฟัน และรักษาสุขภาพปากของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ